เที่ยวเท่ห์ เท่ห์.....เสน่ห์ เมืองน่าน มหัสจรรย์ชมพูภูคาและป่าปาล์มยักษ์

มหัสจรรย์ชมพูภูคาและป่าปาล์มยักษ์

ดอยภูคา ดอยภูคาเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl) ซึ่งเป็นพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ต้นไม้ชนิดนี้พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2532 และไม่พบในพื้นที่ใดอีกเลย จึงได้รับการตั้งชื่อต้นไม้ตามสีของดอกและถิ่นที่พบว่า “ชมพูภูคา” อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จึงเป็นพื้นที่อนุรักษ์สำคัญของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอแม่จริม อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ชั้น 1 A และมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกภูฟ้า น้ำตกแม่จริม น้ำตกผาฆ้อง ธารน้ำลอด พระลานหิน และป่าปาล์มดึกดำบรรพ์ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,065,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: ด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน (นายสมชาย โลหะชาติ) ได้มีหนังสือ ที่ 13/2526 ลงวันที่ 24 กันยายน 2526 เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายณรงค์ วงศ์วรรณ) ว่าได้รับการร้องขอจากราษฎร ขอให้กำหนดป่าดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากยอดดอยภูคาเป็นยอดเขาสูงสุด ของจังหวัดน่านอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด โดยมีความสูงถึง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านมีทิวทัศน์ที่สวยงามเป็น สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการเล่าขานกันมาแต่ครั้งโบราณและเชื่อมั่นว่าเมืองเก่าของ บรรพบุรุษคนเมืองน่านอยู่ในเขตบนเทือกเขาดอยภูคา

ต่อมากองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ได้มีหนังสือ ที่ กห 0483 (สน)/95 ลงวันที่ 27 มกราคม 2527 แจ้งว่าได้พบสภาพพื้นที่ป่าบริเวณบ้านปู จังหวัดน่าน พิกัดเส้นตรง 18-35 และเส้นราบ 07-70 ตามแผนที่มาตราส่วน 150,000 มีความอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม และพื้นที่บริเวณพิกัด คิว เอ 2686 มีน้ำตกที่มีความสวยงามขนาดใหญ่ สมควรที่จะได้มีการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1786/2526 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2526 ให้นายปัญญา ปรีดีสนิท นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปสำรวจพื้นที่เบื้องต้นดังกล่าว ปรากฏว่าสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ และมีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง

กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่ง ที่ 1641/2528 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2528 ให้ นายวันชัย ปานเกษม เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 มาดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ภค)/28 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2530 ปรากฏว่าป่าพื้นที่ดอยภูคาและบริเวณใกล้เคียง มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องการจัดการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เสนอในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ ครั้งที่ 12/2531 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2531 ได้มีมติให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูคาต่อไป กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2531 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2531 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดอยภูคาเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าดอยภูคา ป่าผาแดง ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ ป่าน้ำว้า และป่าแม่จริม ในท้องที่ตำบลห้วยโก๋น ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตำบลปอน ตำบลงอบ ตำบลและ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง ตำบลภูคา ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่ จริม ตำบลหนองแดง ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 48ก ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2542 มีเนื้อที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มียอดดอยภูคาเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,980 เมตร อันเป็นสัญลักษณ์ภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดน่าน โดยทั่วไปเป็นภูเขาหินทราย เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1 อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน แม่น้ำว้า เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีฝนตกชุก
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม - มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด เฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส กลางคืนโดยเฉลี่ย 25 องศาเชลเชียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และยังมีป่าสนเขากลุ่มเล็กๆ อยู่บริเวณทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใกล้กับดอยภูหวด นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าปกคลุมบนภูเขาเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นผลจากการแผ้วถางป่าของชาวบ้านเมื่อก่อนที่จะมีการประกาศให้ดอยภูคา เป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ ยาง ตะเคียน จำปีป่า ประดู่ แดง สัก เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม รวมทั้งปาล์มขนาดใหญ่ หวาย ผักกูด ไผ่ และหญ้าเพ็ก เป็นต้น พันธุ์ไม้หายาก เช่น ชมพูภูคา ก่วมภูคา จำปีป่า ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาสี่หนุ่ม เหลืองละมุน ประทัดน้อยภูคา กระโถนพระฤาษี กุหลาบแดง กุหลาบขาวเชียงดาว พันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ เต่าร้างยักษ์ หมักอินทร์ คัดเค้าภูคา ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน นมตำเลีย และรางจืดต้นภูคา
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่มีอย่างชุกชุม ได้แก่ ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวางป่า เก้ง หมูป่า เลียงผา ลิง ชะนี ค่าง หมี อีเห็น กระจง นาก ไก่ป่า ไก่ฟ้า เหยี่ยวรุ้ง นกมูม นกพญาไฟใหญ่ ฯลฯ มีนกหายาก 2 ชนิด ซึ่งพบที่ดอยภูคา ได้แก่ นกมุ่นรกคอแดง (Rufous-throated Fulvetta) และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย (Clamorous Reed-Warbler)


ดอยภูคาดอยภูคาดอยภูคา

การเดินทาง
จากอำเภอเมืองน่าน–อำเภอปัว ใช้เส้นทางตามทางหลวงหมายเลข 1080 เป็นถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากอำเภอปัว - ที่ทำการอุทายานแห่งชาติดอยภูคา ตามทางหลวงหมายเลข 1256 (เส้นทางสายอำเภอปัว - อำเภอบ่อเกลือ) สภาพเส้นทาง เป็นถนนลาดยางระยะทาง ประมาณ 25 กิโลเมตร ระยะทางโดยส่วนใหญ่จะโค้งลาดชันเพราะสภาพพื้นที่ของอุทยานฯ เป็นภูเขาสูง

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการอยู่ใกล้กับธรรมชาติ
บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น
เมืองไทย : เที่ยวไทย , เที่ยวทั่วไทย , เที่ยวเมืองไทย , ดอยภูคา , น่าน , ข้อมูลท่องเที่ยว , ภาคเหนือ , ไทย , ประเทศไทย

ขุนแม่ยะ ซากุระ ณ เชียงใหม่

ขุนแม่ยะ ซากุระ ณ เชียงใหม่

ขุนแม่ยะมารู้จักภูเขาสีชมพู .... ขุนแม่ยะ
ดอยสีชมพูแสนงามนี้ อยู่ในการดูแลของ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ ในสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัด เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน คือตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นดอยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,020 เมตร อาณาเขตพื้นที่ราว 87,500 ไร่ โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าแม่เลา–แม่แสะ

หนทางมาเยือน ดอยขุนแม่ยะ ถ้าตั้งต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ให้ใช้เส้นทางถนนโชตนา (เชียงใหม่ – ฝาง) มาถึงบ้านแม่มาลัย ประมาณหลัก กม.34 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1095 ทางไปปาย ไปห้วยน้ำดังนั่นแหละ ขึ้นเขาคดเคี้ยวชมวิวไปจนถึงทางเข้า ห้วยน้ำดังด้านขวามือ ให้ชะลอรถขับช้าๆต่อไปเตรียมตัวได้เลยอีก กิโลเมตรกว่าๆถึง ด่านตรวจแม่ยะ หลัก กม. 67 + 500 เป็นอันว่าถึงต้นทางขึ้นดอยแล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิบากดินลูกรังขับไต่ความสูงชันขึ้นดอย ประมาณ 8 กม. ก็จะถึง ที่ทำการ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ (รถที่ขึ้นดอยจะต้องเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น อย่าเสี่ยงเอารถเก๋งขับขึ้นไป สภาพทางในฤดูหนาวและฤดูร้อนทางจะใช้ได้สะดวก แต่ฤดูฝนจะเละตุ้มเป๊ะเป็นโคลนลื่นๆ )

.... จุดนี้จะพบเจอกับดงพญาเสื้อโคร่ง ที่ปลูกและจัดเป็นภูมิทัศน์สวยงาม โด่ดเด่นเป็นจุดยอดนิยมศูนย์รวมการบริการนักท่องเที่ยว ทั้งห้องน้ำจุดกางเต้นท์ และจุดถ่ายภาพยอดนิยม ยามซากุระ ณ ขุนแม่ยะบาน จะลานตาปานโลกนี้เป็นสีชมพู

... แต่ถ้าจะมองภาพกว้างให้เห็นทะเลภูเขาสีชมพู ต้องไต่ทางวิบากคูณ 2 มากกว่า 8 กิโลเมตรแรก ขึ้นไปจุดสูงสุด อีกราว 5-8 กม. จะมองเห็นชัดไกลเห็นถึงเมืองปาย และเห็นได้ชัดเจนว่าทิวเขาเหล่านี้แซมไปด้วยสีชมพูไกลสุดตาชวนฉงน เหตุเพราะต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้หลัก ที่ใช้ปลูกลงในโครงการอนุรักษ์ต้นน้ำ ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบรมราชินีนาถ

ขุนแม่ยะ....ดอกซากุระจะบานราว เดือนมกราคม และจะบานให้ชมเพียง 2 อาทิตย์เท่านั้น ไม่มีใครตอบได้ว่าปีนี้ปีไหน ดอกซากุระจะบานเมื่อไหร่ จะคาดเดาได้ก็เมื่อเห็นดอกตูมเป็นตุ่มติดกิ่งโกร๋นนั่นแหละ......ตอบแบบ ยียวน ก็ต้องบอกว่าจะบานก็เมื่อมันบานนั่นแหละ ไม่ได้กวนแต่เป็นความจริง ดังนั้นถึงเดือนมกราคมก็หมั่นโทรเช็คกับเจ้าหน้าที่ของอุทยาน ...แล้วเตรียมตัวให้พร้อมเดินทางนับ เป็นการเดินทางที่ตื่นเต้นไปอีกแบบ

.... จากรากที่หยั่งลงดินของซากุระต้นแรก จากวันแรกเมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้กล้าต้นน้อย หยั่งรากกลายเป็นผืนป่า สร้างความรื่นรมย์ สร้างจินตนาการสวยงามให้ชาวไทย .....

ข้อมูลจาก: thailandmgg.com
เมืองไทย : เที่ยวไทย , เที่ยวทั่วไทย , เที่ยวเมืองไทย , ขุนแม่ยะ , เชียงใหม่ , ข้อมูลท่องเที่ยว , ภาคเหนือ

ปางอุ๋ง...สวิสเซอร์แลนด์ เมืองไทย

ปางอุ๋ง...สวิสเซอร์แลนด์ เมืองไทย

ปางอุ๋งเส้นทาง ราว 50 กม. จากเมืองแม่ฮ่องสอนสู่ปางอุ๋ง เป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
แค่ ออกจากตัวเมืองตามเส้นทางสู่ อ.ปายไม่กี่ ก.ม มีป้ายให้เลี้ยวซ้ายสู่ หมู่บ้านรวมไทย ระยะทาง 44 ก.ม. เลี้ยวซ้ายเข้าไป เริ่มเส้นทางสายสวยคดโค้ง ไต่ระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ชมสายหมอกคลอเคลีย กับทะเลภูผาเป็นฉากหลัง ให้กับทุ่งนา ในหุบเขา ที่ในเวลานี้ มีแต่ สีเขียว กับเขียว ขจีไปทั้งทุ่ง ทำให้จินตนาการ มองไกลข้ามไป อีก 2-3 เดือนข้างหน้า ยามแสงสดใสทาบทา คนละอารมณ์กับยามนี้ ทุ่งเหล่านี้ก็จะเปลี่ยนเป็นทุ่งรวงทอง แล้วถึงยามเก็บเกี่ยว ภาพชีวิตกับกลิ่นฟางใหม่ ก็คงจะอวล ไปทั้งหุบเขา จินตนาการนี้ไม่เกินจริง ไม่ได้เป็นข้ออ้างที่จะกลับมา แม่ฮ่องสอนใหม่อีกรอบ เพื่อพิสูจน์

แต่สัญชาตญาณมันบอกว่า ... จะได้กลับมาอีกครั้งแน่ๆ
ความ น่าสนใจของเส้นทาง ไม่มีเพียงเท่านี้หรอก หมู่บ้านน้อยใหญ่ เขตชุมชน รายทาง บ้านเรือนยังเป็นไม้แบบดั้งเดิม ที่มุงหลังคาด้วยตองตึง ยังมีให้เห็นไม่ยากเย็น ไม่ต้องตามรอย ตามล่า อาคารเรียนในโรงเรียน เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง แนวระเบียงยาวหน้าห้องเรียน ยังเป็นที่จับจอง ประกอบกิจกรรมสนุกสนาน ของเด็กน้อย เหมือนเห็นภาพตัวเอง ครั้งยังเป็นเด็ก (ย้อนไปไกลจัง) ภายในรั้วบ้าน ระแนงไม้เตี้ยๆ แต่ละบ้านปลูก ลำไย ไม้สูง ให้ร่มเงา เย็นรื่นชื่นใจ มันน่ามาขี่จักรยานเล่น ชมหมู่บ้านซะจริงเลย
หมอกจำแป๋ หมู่ บ้านใหญ่เป็นจุดแยก ซ้ายไปปางอุ๋ง ขวาไปถ้ำปลา (ระยะทางไปถ้ำปลา แค่ 3 ก.ม.) เลี้ยวซ้ายจากนี้ไป หนทางคดโค้ง ไต่เขาชันขึ้นเรื่อยๆ จนมือขับอ่อนสนาม ต้องร้องเพลง ถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า
เลี้ยวซ้ายจากนี้ไป หนทางคดโค้ง ไต่เขาชันขึ้นเรื่อยๆ จนมือขับอ่อนสนาม ต้องร้องเพลง ถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า
.... ร้องเพลงนี้เตือนใจไว้ได้เลย ว่าอาศัยมืออาชีพจอมเก๋าขับให้ดีกว่า แต่รับประกันซ่อมฟรี! ขึ้นไปถึงจุดหมาย
แล้วจะลืมไปเลยว่า เมื่อครู่ที่ผ่านมาเส้นทางมันชวนจั๊กจี้ใจอย่างไร

ปางอุ๋งปางอุ๋ง

มาถึง บ้านนาป่าแปก หมู่บ้านรวมมิตรที่จะเห็นชาวบ้าน ทั้งกระเหรี่ยงและไทยใหญ่ แต่งกายเป็นเอกลักษณ์
ของ ใคร ของตัว เดินปะปน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แบบ Colorful น่าลงมาเดินเล่น ….. อีกแล้ว แต่คราวนี้ต้องเลี้ยวซ้ายเข้าไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งใจก่อน คราวหน้าจะหาเรื่อง มานั่งคุย กับแม่ค้าที่แผงขายขนม ดูผู้คนเพลินใจ
เลี้ยวซ้ายเข้า หมู่บ้านรวมไทย แต่ถ้าตรงไปเป็น หมู่บ้านรักไทย หมู่บ้านของ ชาวจีน จากกองพล 93
ที่ อพยพมาสร้างตำนาน แหล่งท่องเที่ยว จิบชา ชิมขาหมู อยู่บนดอยหลายแห่งในพื้นที่ ทางเหนือของไทย และที่นี่ก็จะละม้ายคล้ายกัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่ง ที่ขึ้นชื่อของ แม่ฮ่องสอน
ผ่านหมู่บ้านรวมไทย ก็เข้าถึงจุดหมายแล้ว โครงการสวนป่าในพระราชดำริปางตอง 2 “ปางอุ๋ง” ทะเลสาบสวย
อยู่เป็นคู่กับป่าสน เปิดภาพงามท้าสายตา เชิญสัมผัส......กันได้เลย

ข้อมูล: thailandmgg.com
เมืองไทย : เที่ยวไทย , เที่ยวทั่วไทย , เที่ยวเมืองไทย , ปางอุ๋ง , แม่ฮ่องสอน , ข้อมูลท่องเที่ยว ,